Thursday, May 05, 2016

CBT THERAPIST



เริ่มต้นที่นักเขียนความคิด ต่อ ยอดความคิด
ในบทบาทนักบำบัดความคิด (Therapist) 
ด้วยจิตบำบัดแบบ Cognitive Behavioral Therapy (CBT)”
ฝากติดตามงานเขียนเล่มใหม่ล่าสุด
 "จิตสร้างโลก
พระอาจารย์ปิยโสภณเมตตาตั้งชื่อหนังสือให้แขก

ผู้เขียน...คือนักบำบัดความคิดโดยไม่ใช้ยา 
แต่ใช้วิธีการบำบัดความคิดและพฤติกรรมรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

รัชนีย์ อุดชาชน 
นักเขียนนับหนึ่งถึงล้าน


Tuesday, February 02, 2016

โชคดีที่เกิดมาเป็นคนไทย



ตารางอบรมจิตตภาวนา ประจำปี ๒๕๕๙ ของมูลนิธิส่งเสริมบริหารจิต ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ณ ธรรมสถานเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ ๙ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ๙๙๙/๙ ซ.พระรามเก้า ๑๙ ถ.พระราม ๙ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๑๐ โทรศัพท์. ๐-๒๗๑๙-๗๖๗๖ โทรสาร. ๐-๒๗๑๙-๗๖๗๔

http://www.mindsparama9.org/web/images/stories/pdf/2559/mindspa_calendar2559.pdf




 

Monday, May 19, 2014

Cognitive behavioral therapy ⌒☆



หลักสูตรแรกในประเทศไทย ภูมิใจนำเสนอโดย นพ.ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร เจ้าของหลักสูตรภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Diploma Course 1 ปี นอกเวลาราชการ เรียนจริงประมาณ 10 เดือน สิงหาคม-พฤษภาคม
 
 
*♫~ *.:。 ✿*゚‘゚・✿.。.:* *.:。✿*゚’゚・✿.。.:* *.:。✿*♫~ *.:。 ✿*

Saturday, May 17, 2014

ขอเรียนเชิญพุทธศาสนิกชนร่วมเป็นเจ้าภาพสร้าง “พิพิธภัณฑ์ จันททีโป” น้อมถวายหลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป ในโอกาสหลวงปู่มีอายุวัฒนมงคลครบ ๑๐๓ ปี (๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๗) ผู้มีจิตศรัทธาสามารถร่วมทำบุญได้ที่กุฏิหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หรือโอนเงินผ่านธนาคารชื่อบัญชี “ร่วมสร้างพิพิธภัณฑ์จันททีโป น้อมถวายหลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป” ธนาคารกรุงเทพ จำกัด มหาชน สาขา อุดรธานี เลขที่ 284-7-47900-9 สะสมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย จำกัด มหาชน สาขา อุดรธานี เลขที่ 401-3-36905-2 ออมทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด มหาชน สาขา อุดรธานี เลขที่ 110-2-47850-7 ออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด มหาชน สาขา เซ็นทรัลพลาซา อุดรธานี เลขที่ 859-236799-0 ออมทรัพย์ (ยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอน) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ 042-244111,042-124324 กรณีต้องการใบอนุโมทนาบัตร กรุณา fax ใบ PAY-IN มาที่โทรสารหมายเลข 042-240333 โมทนาสาธุในกุศลจิตค่ะ

Thursday, March 27, 2014

พระราชนิพนธ์แปล สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

ชื่อหนังสือ:ตลอดกาลน่ะ นานแค่ไหน
ผู้แปล:สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ “ตลอดกาลน่ะนานแค่ไหน” อาจเป็นทั้งคำถามและคำตอบที่ผู้เขียนต้องการสื่อกับผู้อ่านในโลกยุคใหม่ ผู้อยู่ในโลกอันมีวัตถุและผลประโยชน์สำคัญเหนืออื่นใด ผู้อยู่ในโลกยุคใหม่นั้นย่อมยากจะมีศรัทธาเชื่อมั่นต่อ ความดีตลอดกาล หรือ ความรักตลอดกาล เป็นไปได้ไหมว่า ตลอดกาล อันจริงแท้นั้น ไม่ว่าจะดำรงอยู่นานแค่ไหน เพียงชั่วครู่หรือชั่วนิรันดร ย่อมเป็นทั้ง สัจจะ และ มายา ที่มนุษย์ทุกสมัยต้องใคร่ครวญเรียนรู้ด้วยปัญญาไปตลอดกาล

Wednesday, January 22, 2014

"งามตามธรรมชาติ ปิยโสภณ" หนังสือมีจำหน่ายที่ร้าน WISDOM ธรรมสถานเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ ๙ วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ๙๙๙/๙ ซอย ๑๙ ถนนพระราม ๙ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ ๑๐๓๒๐ โทร.๐๒-๗๑๙๗๖๗๕ E-mail : wisdomplus999@gmail.com ราคา ๑๙๙ บาท โมทนาสาธุที่อุดหนุนหนังสือค่ะ

Tuesday, February 14, 2012

สภากาชาดไทย



“สภากาชาดไทย ถือกำเนิดขึ้นมาก็ด้วยน้ำใจเมตตาของผู้ก่อตั้ง และการที่สภากาชาดไทยสามารถเจริญก้าวหน้ามาถึงปัจจุบัน ก็ด้วยความเมตตาของประชาชนที่มีกุศลจิตให้ความเกื้อกูลสนับสนุน ข้าพเจ้าจึงถือโอกาสนี้ ขอบคุณท่านที่ได้ให้การสนับสนุนสภากาชาดไทยตลอดมา และหวังในเมตตาธรรมของท่าน ที่จะช่วยเกื้อกูล และช่วยจรรโลงสภากาชาดไทย ให้ปฏิบัติภารกิจเพื่อประโยชน์สุขแก่มวลมนุษยชาติต่อไป” พระราชดำรัสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการสภากาชาดไทย จากสภาอุณาโลมแดงฯ สู่สภากาชาดไทยวิวัฒน์องค์การเพื่อภารกิจด้านมนุษยธรรมของคนไทย

Wednesday, January 25, 2012

Aaron T. Beck บิดาด้านความคิดและพฤติกรรมบำบัด


มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 ด้วยการริเริ่มของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสเฉลิมฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ครบ 100 ปี ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 เพื่อดำเนินการมอบรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลถวายเป็นพระราชอนุสรณ์ และเพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณแห่งสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก “องค์บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของไทย”

เมื่อแรกตั้งใช้ชื่อมูลนิธิว่า ’มูลนิธิรางวัลมหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์” และได้เปลี่ยนแปลงเป็น “มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์” เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2540

รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เป็นรางวัลนานาชาติ ได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลเป็นรางวัลเดียวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรางวัลฯ แก่ผู้รับรางวัลฯ ในแต่ละปีด้วยพระองค์เอง และทรงรับมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ตั้งแต่แรก

นอกจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงเป็นประธานในงานเลี้ยงอาหารค่ำ ที่จัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้รับรางวัลฯ เป็นประจำทุกปี

รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ครั้งที่ 20 ประจำปี 2554 ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล สาขาการแพทย์ ได้แก่ ศาสตราจารย์นายแพทย์แอรอน ที. เบ็ค (Professor Aaron T. Beck) และ ดร.เดวิด ที. วอง (Dr.David T. Wong) และผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล สาขาการสาธารณสุข ได้แก่ ดร.รูธ เอฟ. บิชอป
(Dr.Ruth F. Bishop)

โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์แอรอน ที. เบ็ค ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย และประธานกิตติมศักดิ์ ศูนย์วิจัยจิตพยาธิวิทยาแอรอน ที. เบ็ค (Aaron T. Beck Psychopathology Research Center) รัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นบุคคลแรกที่ นำความคิดและพฤติกรรมบำบัด (Cognitive Behavioural Therapy, CBT) มารักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โดยได้พัฒนาวิธีการรักษานี้ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1960 ขณะเป็นจิตแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย

ศาสตราจารย์นายแพทย์แอรอน ที. เบ็ค ได้ทำการวิจัย พัฒนา และทดสอบประสิทธิภาพการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โดยใช้กระบวนการและเทคนิคของการเรียนรู้มาใช้บำบัดเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนความเชื่อของบุคคลที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งเป็นเหตุทำให้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช ช่วยให้บุคคลปรับเปลี่ยนความคิด ความเชื่อของตนให้เกิดความคิดที่ถูกต้อง เหมาะสม และสามารถปรับตัวต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น

ในการศึกษาต่อมาพบว่า ความคิดและพฤติกรรมบำบัด เป็นวิธีรักษาที่ดีที่สุดในโรคซึมเศร้า เป็นที่แพร่หลายอย่างกว้างขวาง จนศาสตราจารย์นายแพทย์แอรอน ที. เบ็ค ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาด้านความคิดและพฤติกรรมบำบัด ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้มากกว่า 120 ล้านคนต่อปี โดยเฉพาะลดการฆ่าตัวตาย ซึ่งมีมากกว่า 1 ล้านคนต่อปี

ส่วน ดร.เดวิด ที. วอง (Dr.David T. Wong) ศาสตราจารย์สมทบ (Adjunctive Professor) ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอินเดียนา รัฐอินเดียนา ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ค้นพบยาฟลูอ๊อกซีทีน(fluoxetine) ซึ่งเป็นยาตัวแรกในกลุ่มเอสเอสอาร์ไอ (SSRI: selective serotonin reuptake inhibitor) โดยเริ่มทำการศึกษาค้นคว้าและวิจัย ตั้ง
แต่ปี ค.ศ. 1970 และใช้เวลากว่า 15 ปี ก่อนจะได้รับอนุญาตจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาให้วางจำหน่ายได้ภายใต้ชื่อ โปรแซค (Prozac)

จากนั้น 2 ปีต่อมา ได้รับการยอมรับว่าเป็นยารักษาโรคซึมเศร้าที่มีประสิทธิภาพสูง มีความปลอดภัยมาก ผลข้างเคียงน้อย โดยใช้ยาเพียงวันละ 1 ครั้ง จึงมีการใช้ยานี้อย่างแพร่หลาย ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้านับร้อยล้านคนทั่วโลก นอกจากนี้ฟลูอ๊อกซีทีน ยังเป็นต้นแบบของการพัฒนายารักษาโรคซึมเศร้าอีกหลายชนิดต่อมา

ทั้งความคิดและพฤติกรรมบำบัด และยาฟลูอ๊อกซีทีนต่างให้ผลในการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้ดี แต่เมื่อใช้ความคิดและพฤติกรรมบำบัด และยาฟลูอ๊อกซีทีนร่วมกันพบว่าทำให้ผลการรักษาดียิ่งขึ้น

สุดท้าย ดร.รูธ เอฟ. บิชอป (Dr.Ruth F. Bishop) ศาสตราจารย์เกียรติยศ (Professorial Fellow) ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น และนักวิจัยอาวุโส สถาบันวิจัยเด็กเมอด็อค รัฐวิกตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย

ดร.รูธ เอฟ. บิชอป เป็นบุคคลแรกที่พบว่าโรคท้องร่วงรุนแรงที่เกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศที่มีรายได้ต่ำ และรายได้ต่ำปานกลางในแถบทวีปแอฟริกาและเอเชีย ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตราว 5 แสนคนต่อปี เกิดจากเชื้อไวรัสโรต้า โดยในปี พ.ศ. 2516 ดร.รูธ เอฟ. บิชอปได้พิสูจน์โดยนำเซลล์ลำไส้เล็กของเด็กที่ป่วยมาตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ อิเล็กตรอนพบเชื้อไวรัสมีลักษณะคล้ายวงล้อมรอบ ๆ ให้ชื่อว่า ’ไวรัสโรต้า”

นอกจากนี้ ดร.รูธ เอฟ. บิชอป ยังค้นพบว่าทารกแรกเกิดมีภูมิคุ้มกันสามารถต่อต้านเชื้อไวรัสโรต้าได้ เป็นพื้นฐานนำไปสู่การพัฒนาวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโรต้า โดยตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 เป็นต้นมา ถือเป็นมาตรฐานที่เด็ก ๆ ออสเตรเลียทุกคนจะได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโรต้า ซึ่งเป็นที่ยอมรับและใช้กันแพร่หลายทั่วโลกกว่า 60 ประเทศ ช่วยรักษาชีวิตและสุขภาพอนามัยเด็กนับล้านคนทั่วโลก

รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2554 จะเป็นปีที่ 20 ของการพระราชทานรางวัล ซึ่งจะมีพิธีพระราชทานรางวัลในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นการครบรอบ 120 ปี แห่งการพระราชสมภพของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 คณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงมีมติให้เพิ่มเงินรางวัลจากรางวัลละ 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ เป็น 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ นับจากปีนี้เป็นต้นไป.

......................................

รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล มีการให้รางวัลเป็นประจำทุกปีๆ ละ 2 รางวัล

1. รางวัลทางการแพทย์ มอบให้แก่บุคคลหรือองค์กรที่ปฏิบัติงาน และ/หรือวิจัยดีเด่นทางด้านการแพทย์ อันก่อประโยชน์แก่มนุษยชาติ

2. รางวัลทางสาธารณสุข มอบให้แก่บุคคลหรือองค์กรที่ปฏิบัติงานดีเด่นทางด้านสาธารณสุข เป็นประโยชน์แก่สุขภาพอนามัยของมนุษยชาติ

หมายเหตุ: มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ มอบ 2 รางวัลนี้ เพื่อถวายเป็นพระราชอนุสรณ์แด่สมเด็จพระบรมราชชนก ที่ทรงสำเร็จวิชาแพทย์ (Doctor of Medicine) และทรงได้รับประกาศนียบัตรวิชาการสาธารณสุข (Certificate of Public Health)

1. เผยแพร่พระเกียรติคุณแห่งสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

2. มอบรางวัลแก่บุคคลหรือองค์กรที่ปฏิบัติงาน และ/หรือวิจัยดีเด่นทางด้านการแพทย์ อันก่อให้เกิดประโยชน์แก่มนุษยชาติ

3. มอบรางวัลแก่บุคคลหรือองค์กร ที่ปฏิบัติงานดีเด่นทางด้านการสาธารณสุข เป็นประโยชน์แก่สุขภาพอนามัยของมนุษยชาติ

4. ดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์ หรือร่วมกับองค์กรการกุศลอื่น ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์

5. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด

Saturday, September 17, 2011

ขอเชิญพุทธศาสนิกชน ร่วมทำบุญตามกำลังศรัทธาเพื่อจัดพิมพ์หนังสือ



ขอเชิญพุทธศาสนิกชน ร่วมทำบุญตามกำลังศรัทธาเพื่อจัดพิมพ์หนังสือ “จันทร์ศรีผ่องเพ็ญอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี ๘๐ พรรษา” หลวงปู่จันทร์ศรี จนททีโป น้อมถวายบูชาพระคุณและแจกเป็นธรรมบรรณาการเนื่องในโอกาสทำบุญอายุวัฒนะครบ ๑๐๐ ปี วันที่ ๘-๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๔ ร่วมทำบุญได้ตั้งแต่วันนี้ -๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๔ ได้ที่ศูนย์ประชาสัมพันธ์หนังสืออนุสรณ์ ๑๐๐ ปี หลวงปู่จันทร์ศรี จนนทีโป ชั้นล่างตึกธรรมเจดีย์ วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี หรือโอนเงิน ธนาคารกรุงไทย สาขาอุดรธานี ชื่อบัญชี “กองทุนจัดพิมพ์หนังสืออนุสรณ์ ๑๐๐ ปี หลวงปู่จันทร์ศรี จนททีโป เลขที่ ๔๐๑-๓-๑๖๐๓๑-๕ (ออมทรัพย์) *สามารถยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอน โดยแจ้งเจ้าหน้าที่ธนาคาร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ๐๔๒-๔๒๔-๙๑๔ ๐๘-๙๔๙๓-๙๒๓๐ แฟกซ์ ๐๔๒-๒๑๑-๕๕๘